เว็บไซต์นั้นมีความสำคัญต่อธุรกิจในทางออนไลน์

ถ้าพูดถึงเว็บไซต์ เชื่อว่า ในยุคนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก และไม่เคยใช้มัน แต่บทบาททางธุรกิจของ เว็บไซต์ นั้น หลายคนอาจจะยังสงสัยอยู่ว่า มันมีประโยชน์มากน้อยอย่างไร

หากย้อนไปในอดีต การค้า และธุรกิจต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดจากการซื้อขาย แลกเปลี่ยนกันโดยตรงเป็นหลัก รวมไปถึงการโฆษณาผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือ แม้กระทั่งวิทยุ ทั้งนี้การแข่งขันในอดีต อาจไม่ได้เข็มข้นเหมือนสมัยนี้ เพราะว่า ในปัจจุบัน ธุรกิจที่มีความคล้ายคลึงกันเกิดขึ้นมากมาย เราสามารถเจอร้านขายเสื้อผ้าเป็น พันๆ หมื่นๆ ร้าน หรือ ธุรกิจร้านกาแฟที่เปิดกันทั่วไปหมด ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ คงต้องหาวิธีการโฆษณา และเข้าถึงผู้บริโภคในรูปแบบอื่น เพื่อลดต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางเลือกรูปแบบอื่น อย่างไรล่ะเว็บไซต์จึงเป็นช่องทางที่ตอบโจทย์ได้อย่างชัดเจนในยุคนี้

ทุกวันนี้เราจะได้ยินคำถามที่ว่า คุณขายเสื้อผ้า คุณมีเว็บไซต์ รึเปล่า หรือ คุณมี Facebook Page รึเปล่า ซึ่งไม่แปลกที่ เว็บไซต์ จะเป็นช่องทางแรกๆ ที่เราไว้ใช้ติดต่อกัน และนำเสนอสินค้าต่างๆของเรา

ปัจจุบัน ธุรกิจไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ ต่างมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพราะว่า การสร้างเว็บไซต์ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย และมีราคาไม่แพงเหมือนสมัยก่อน อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีอันทันสมัยต่างๆ เข้ามาเพื่อลดช่องว่างระหว่าง ร้านค้าที่อยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ไม่มีความรู้ทางด้านนี้ หลายคนอาจจะถามว่า ถ้าบริษัทเล็กมาก มีสินค้าอยู่ไม่กี่ตัวที่อยากจะขาย ทำไมต้องมีเว็บไซต์ และการมีเวปไซท์มันจะทำให้ขายของได้มากขึ้นรึเปล่า หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ค่อยเป็นจะทำได้รึเปล่า สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นคำถามคาใจหลายๆคนอยู่

ทีนี้เรามาลองดูว่าเว็บไซต์จะช่วยอะไรเราได้บ้าง
ลดต้นทุนในการโฆษณา
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าเปรียบเทียบกับการโฆษณาในรูปแบบอื่น เว็บไซต์ ดูจะการลงทุนที่ถูกกว่า แต่ได้ผลลัพท์ที่ดีเกินคาดเว็บไซต์ ถือได้ว่าเป็นการโฆษณาที่ทรงพลังช่องทางหนึ่ง และสามารถทำให้คนมองเห็นได้มากที่สุด ถ้าเราทำอย่างถูกวิธี และถูกต้อง แต่อาจจะต้องใช้เวลาสักพักในการทำให้ผู้คนรู้จักเว็บไซต์ เราแต่ก็มีช่องทางมากมายที่ใช้ในการโปรโมทเว็บไซต์ของเรา เช่น ทาง Social Networking ต่างๆ รวมไปถึง Pay-Per Click หรือ Google Ad words

เพิ่มการมองเห็น และเป็นที่รู้จัก
ทำอย่างไรคนถึงจะเห็น และรู้จักเว็บไซต์ของเรา เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก สำหรับคนที่มีเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนเคยได้ยินชื่อบริษัทของเรา และอยากจะรู้จักเราเพิ่มมากขึ้น สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่ทำคือ การเข้าไปค้นหา ชื่อบริษัทเราในอินเตอร์เน็ต เพราะฉะนั้น เว็บไซต์เราจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลที่สำคัญ และน่าสนใจ เช่น ที่อยู่บริษัท เบอร์โทรศัพท์ แผนที่ หรือแม้กระทั่งเวลาเปิด และปิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถทำให้ลูกค้าติดต่อเราได้ง่ายขึ้น

เพิ่มศักยภาพของการเข้าถึงข้อมูล
เว็บไซต์ นั้นเปิดตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด ไม่มีวันลาป่วย และไม่มีอู้งาน อาจจะมีบ้างบางครั้งที่ เซิร์ฟเวอร์มีปัญหา แต่นั่นก็ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก เพราะเหตุนี้ กลุ่มลูกค้าของคุณสามารถ เข้ามาดูข้อมูลเมื่อไหร่ เวลาใดก็ได้ ลูกค้าสามารถเห็นการอัพเดทโปรดักร์ การอัพเดทคอนเทนท์ ทันที ที่เข้ามาในเว็บไซต์ รวมถึงโปรโมรชั่น หรือการส่งข้อความเพื่อให้ติดต่อกลับไปยังลูกค้านอกเวลาทำการ ซึ่งนี่เป็นข้อได้เปรียบ และสะดวกต่อลูกค้าเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะไม่มีพนักงานอยู่คอยรับโทรศัพท์ตอนกลางคืน แต่เว็บไซต์ก็ยังทำหน้าที่แทนได้

เพิ่มยอดขาย และขยายตลาด
เว็บไซต์สามารถช่วยเราขายของได้ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่นการขายสินค้าออนไลน์ ในระบบตะกร้า หรือ E-Commerce ทำให้ร้านค้าสามารถขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ลูกค้าไม่ต้องรอให้ร้านเปิด หรือเสียเวลาไปซื้อสินค้าที่หน้าร้านโดยตรง นอกจากนี้ การมีเว็บไซต์ยังช่วยเพิ่ม และกระตุ้นยอดขายสินค้าของบริษัทได้

ง่ายต่อการใช้งาน
ปัจจุบันนี้ การสร้างเว็บไซต์เป็นเรื่องง่ายไม่ว่าจะเป็น ระบบบริหารจัดการข้อมูล (CMS: Content Management System) หรือแม้กระทั่งระบบตะกร้า (E-Commerce) การใช้งานจะมีระบบหลังบ้าน (Back End) ที่จะสามารถช่วยร้านค้าให้อัพเดทข้อมูลได้ง่ายขึ้น ระบบช่วยจัดการคลังสินค้า หรือแม้แต่ระบบช่วยทำสรุปยอดขาย รวมถึง Report ต่างๆ อีกทั้งยังมีการทำนาย ยอดขายว่าสินค้าตัวไหนขายดี ตัวไหนกำลังจะขาดสต๊อก ซึ่งการใช้งานระบบเหล่านี้จะไม่เป็นเรื่องยาก หากได้รับการอธิบายวิธีการใช้ที่ถูกต้อง

จริงๆแล้วการมีเว็บไซต์ ยังมีข้อดีอีกหลายด้าน เช่นเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ Online Marketing หรือ Content Seeding เพื่อทำการตลาดในแบบยุคดิจิตัล เพราะฉะนั้นการมีเว็บไซต์ ไม่ได้หมายความว่าแค่สร้างเว็บไซต์แบบชุ่ยๆ ขึ้นมาเว็บไซต์นึง จากนั้นเราก็ทิ้งมันไป แต่เว็บไซต์จะต้องอยู่คู่ไปกับธุรกิจเรา เราต้องหมั่นอัพเดทข้อมูล และดูแล เปรียบเสมือนเป็นประตูด่านแรกที่ทำให้ ลูกค้าเห็น และเชื่อใจในธุรกิจเรา

Posted in: ธุรกิจ

Comments are closed.